รู้จักแสงสีฟ้าและวิธีถนอมดวงตาจากแสงสีฟ้า

หน้าหลัก / บทความ / รู้จักแสงสีฟ้าและวิธีถนอมดวงตาจากแสงสีฟ้า

แสงสีฟ้าคืออะไร ?

แสงสีฟ้า (Blue Light) คืออะไร

แสงสีฟ้า หรือ Blue Light คือ คลื่นพลังงานแสงสีฟ้าธรรมชาติที่แตกแยกออกมาจากรังสียูวี (Ultra violet) ธรรมชาติที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และแสงสีฟ้าสามารถหาเจอได้จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองอีกด้วย

1. แสงสีฟ้าจากแหล่งธรรมชาติ

นอกจากแสงสีฟ้าหาได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังสามารถหาต้นกำเนิดแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติอีกด้วย เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยกาศ มีพลังงานสูงแต่ระยะของคลื่นสั้น จึงเกิดการประทะระหว่างโมเลกุลของน้ำและอากาศจนกระจายฟุ้งออกทั่วท้องฟ้าในยามกลางวัน จึงทำให้ผู้คนมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้านี่เอง

2. แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

แสงสีฟ้าที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์จอสัมผัสอย่าง สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ทัชสกีนรูปแบบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งหลอดไฟฟ้า ซึ่งความเข้มของแสงสีฟ้าแต่ละอุปกรณ์จะมีปริมาณความหนาแน่นแตกต่างกันออกไป

3. ผลกระทบต่อการนอนหลับ

ผลกระทบต่อการนอนหลับ (Insomnia) การได้รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้ามากเกินไป มีผลต่อ นาฬิกาชีวิต (Circadian rhythm) ของระบบทำงานภายในร่างกายแต่ละบุคคลเปลี่ยนไป แสงสีฟ้าจากหน้าจอทำให้ต่อมไพเนียล(Pineal gland) ที่สร้างฮอรโมนเมลาโทนิน (Melatonin) จากสมองน้อยลง สร้างผลกระทบให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ และหลับไม่สนิท

แสงสีฟ้าก็มีข้อดีเช่นกัน

แสงสีฟ้ามีข้อดีดังนี้
– เป็นแสงที่ช่วยปรับสภาวะทางอารมณ์ให้ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า และโฟกัสในสิ่งที่ทำได้อย่างกระฉับกระเฉง
– แสงสีฟ้าช่วยปรับสมองมีความจำที่ดีขึ้น เมื่อมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สามารถเข้าใจได้ง่าย
– เป็นแสงสีฟ้าที่ช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้า(Depression) และโรคอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD)

วิธีปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า

1. ใช้น้ำตาเทียม

น้ำตาเทียม (Artificial tears) เป็นสารมีมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับน้ำตาธรรมชาติ ช่วยหล่อลื่นและเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ดวงตา บรรเทาอาการตาล้า ตาแห้ง จากการปะทะแสงสีฟ้าในจอคอม ให้หายอาการตาล้า บรรเทาความระคายเคืองในดวงตาให้ทุเลาลงได้

2. ปรับระยะห่าง

ปรับระยะห่างระหว่างดวงตากับหน้าจอ ให้อยู่ห่างประมาณ 2 ฟุต

3. พักสายตา

การถนอมสายตาโดยใช้กฎ 20-20-20 เพื่อพักดวงตาที่ได้รับรังสีแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ใช้สายตาจดจ้องมากเกินไป มีวิธีเริ่มต้นคือ การหลับตา หรือมองออกไปยังทิวทัศน์มุมอื่น ๆออกไปประมาณ 20 วินาที ในระยะอย่างน้อย 20 ฟุต ในทุก ๆ 20 นาทีในขณะทำกิจกรรม

4. ปรับความสว่างแสงหน้าจอให้พอดี

ควรปรับระดับแสงจากหน้าจอเป็นสีแนวโทน Warm light ให้สอดคล้องกับแสงสว่างในห้องของผู้ใช้ให้พอดี หากทำงานเวลากลางคืน ควรเปิดโคมไฟแสงสีขาวคู่กับหน้าจอคอม

5. พบแพทย์และตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ

บุคคลที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ ฟรีแลนด์สายงานดิจิตอล โปรแกรมเมอร์ และอาชีพอื่น ๆ เกิดภาวะอาการตาล้าสะสมจากการจดจ้องหน้าจอคอมมากเกินไป หรือ บุคคลที่มีภาวะสายตาสั้นอยู่แล้ว และบุคคลที่มีอายุ 40 ปีเป็นต้นไปที่เริ่มมีอาการสายตายาวเริ่มต้น สามารถทำการนัดตรวจสุขภาพประจำปัเพื่อดูสภาพการทำงานของดวงตาปัจจุบัน พร้อมให้คำแนะนำวิธีถนอมสายตาจากแสงสีฟ้า อย่างการสวมใส่แว่นที่มีเลนส์กรองแสงสีฟ้า  และการให้ยาบำรุงสายตาแก่ผู้ป่วย เป็นต้น

ด้วยความห่วงใยจาก

วันเวลาทำการ
เปิดให้บริการ ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 08:00 – 20:00 น.

หากท่านมีข้อสงสัยในอาการเจ็บป่วย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ทางช่องทางดังต่อไปนี้

Share: