เส้นฟอกไตหรือเส้นฟอกเลือดการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเส้นฟอกไต

หน้าหลัก / บทความ / เส้นฟอกไตหรือเส้นฟอกเลือดการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเส้นฟอกไต

เส้นฟอกไต หรือเส้นฟอกเลือด

เส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดจริง(AVF)

เส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดจริง เป็นการผ่าตัดทำทางเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ทำให้หลอดเลือดดำมีการปรับตัวขยายขนาด มีเลือดไหลเวียนมากขึ้น 
ข้อดี : อายุการใช้งานยาวนาน >2ปี และโอกาสติดเชื้อน้อย
ข้อเสีย : หลังทำแล้วต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ จึงสามารถฟอกไตได้ และมีผู้ป่วยประมาณ 20-40% ที่ไม่สามารถใช้หลอดเลือดธรรมชาติฟอกไตจากหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ

เส้นฟอกไตโดยใส่สายระยะยาว (Perm cath)

เส้นฟอกไตโดยใส่สายระยะยาว เป็นการใส่สายขนาดใหญ่ไปในหลอดเลือดดำใหญ่ เพื่อให้สามารถนำเลือดปริมาณมากเข้าเครื่องฟอกหรือเครื่องไตเทียมได้รวดเร็ว
ข้อดี : สามารถใช้ได้ทันทีหลังใส่สายเสร็จ
ข้อเสีย : ถ้าใช้ไปนานๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดดำใหญ่อุดตัน และมีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าชนิดอื่น

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเส้นฟอกไต

● ตรวจร่างกาย และตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินความพร้อมของหลอดเลือด ก่อนผ่าตัด
● ในระหว่างรอจนถึงวันผ่าตัด แนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยการรับประทานยาให้สม่ำเสมอเพื่อป้องกัน
● ในกรณีผู้ป่วยรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดจำเป็นต้องงดยาก่อนผ่าตัดควรปรึกษาแพทย์ก่อน
● ในบางรายแพทย์จะใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยในการตรวจหาหลอดเลือดก่อนผ่าตัด
● ห้ามลบรอยปากกาที่เขียนบนแขนของท่าน
● ระมัดระวังไม่ให้แขนข้างที่จะทำการผ่าตัด ถูกเข็มแทง เจาะเลือด หรือวัดความดัน
● ควรบริหารเส้นเลือดข้างที่จะทำเส้นฟอกไตด้วยการบีบและคลายลูกบอลสลับไปมาครั้งละ 10-15นาที เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือด
● ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดเส้นฟอกไต

● ควรสังเกตว่า หลังผ่าตัดมีเลือดออกมาผิดปกติหรือไม่ ถ้าผิวหนังบริเวณผ่าตัดบวมโป่งหรือมีเลือดซึมไม่หยุด ควรปรึกษาแพทย์
● ในช่วงเวลา 7 วันแรกของการผ่าตัด โดยทั่วไปจะได้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่หากมีอาการบวมแดงร้อน กดเจ็บพร้อมกับมีไข้แผลอาจมีการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์
● ระวังไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำ 7-14 วัน หรือจนกว่าจะตัดไหม
● ควรยกแขนสูงโดยเฉพาะ 2-3 วันแรกหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือดหรือน้ำเหลืองคั่งใต้ผิวหนังรอบๆ แผลผ่าตัด
● ควรออกกำลังกายฝ่ามือ แขน โดยวิธีกำลูกเทนนิส หรือ ลูกบอลลูกเล็กๆ เป็นจังหวะ (กำ-เกร็ง-ปล่อย) ประมาณ500 ครั้ง/วัน
● ระวังอย่าให้แผลที่ผ่าตัดไปกระทบกระแทกของแข็งหรือของมีคม ระวังการทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจส่งผลกดทับเส้นเลือด
● ห้ามเจาะเลือด ห้ามวัดความดัน และห้ามแทงเข็ม เพื่อให้น้ำเกลือหรือยาบริเวณแขนข้างที่ทำการผ่าตัด

ด้วยความห่วงใยจาก

วันเวลาทำการ
เปิดให้บริการ ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 08:00 – 20:00 น.

หากท่านมีข้อสงสัยในอาการเจ็บป่วย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ทางช่องทางดังต่อไปนี้

Share: