โรคปริทันต์ หรือโรครำมะนาด คืออะไร? อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบรักษาและป้องกันก่อนสายเกิน

หน้าหลัก / บทความ / โรคปริทันต์ หรือโรครำมะนาด คืออะไร? อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบรักษาและป้องกันก่อนสายเกิน

โรคปริทันต์หรือโรครำมะนาด

โรคปริทันต์ (Periodontitis) หรือโรครำมะนาด คืออาการอักเสบและติดเชื้อรุนแรงของเหงือก กระดูกรองรับรากฟัน และเอ็นยึดรากฟัน ซึ่งเกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคจากหินปูนที่ก่อตัว ส่งผลให้เกิดการทำลายอวัยวะโดยรอบตัวฟัน ในระยะเริ่มต้นของโรคปริทันต์นั้นจะเรียกว่าโรคเหงือกอักเสบในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เป็นโรคปริทันต์ได้ ด้วยการอักเสบที่รุนแรงจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนเกิดฟันโยกและต้องถอนฟันไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม โรคปริทันต์หรือโรครำมะนาดสามารถป้องกันได้เพียงรักษาสุขอนามัยในช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ บทความนี้จะพาไปเจาะลึกอาการของโรค ระยะของโรค วิธีรักษาและป้องกัน

อาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคปริทันต์

การมีฟันและเหงือกที่แข็งแรงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ลักษณะโดยทั่วไปของคนที่มีเหงือกและฟันที่แข็งแรงสามารถสังเกตได้จาก สีของเหงือก หากเหงือกสุขภาพดีจะมีสีชมพูอ่อน อย่างไรก็ตาม สีของเหงือกก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์และสีผิวของแต่ละบุคคลอีกด้วย นอกจากนี้ การแนบชิดของเหงือกก็เป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตที่บ่งบอกถึงสุขภาพของเหงือกได้ เหงือกที่ดีต้องแนบชิดกับฟัน แน่น เต็มช่องฟัน ไม่ร่น และไม่มีเลือดออกตามไรฟัน ส่วนฟันที่ดีก็ต้องสะอาด ซอกฟันไม่มีคราบหินปูนหรือเศษอาหาร และไม่ผุ แต่เมื่อใดก็ตามที่เหงือกไม่แข็งแรง และมีการอักเสบที่รุนแรง ก็จะทำให้เกิดโรคปริทันต์ตามมา ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

1. เหงือกมีอาการบวมหรือพอง
2. เหงือกมีลักษณะนุ่มเมื่อสัมผัส
3. เหงือกร่น
4. เลือดออกตามไรฟัน
5. เหงือกมีสีแดงเข้มหรือแดงอมม่วง
6. มีหนอง
7. มีหินปูน
8. ฟันโยกหรือฟันหลุด
9. มีอาการเจ็บปวดเวลาเคี้ยวอาหาร
10. มีกลิ่นปาก

ระยะของโรคปริทันต์ที่ควรรู้

โรคปริทันต์สามารถแบ่งได้ตามระยะต่างๆ โดยอิงจากความรุนแรงของอาการที่พบ ซึ่งจะเป็นระดับเริ่มต้นซึ่งก็คืออาการอักเสบ ไปจนถึงระดับที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ระยะของโรคปริทันต์สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระยะอักเสบ หรือเหงือกอักเสบ ระยะก่อนปริทันต์ ระยะกลางของโรคปริทันต์ และระยะสุดท้ายของปริทันต์

การทำงานร่วมกันของระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาทและสมองทำงานร่วมกันอย่างประสานสอดคล้องเพื่อควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่การเคลื่อนไหว การรับรู้ทางประสาทสัมผัส จนถึงการตอบสนองทางอารมณ์และการคิดเชิงซับซ้อน การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท (Neurons) ทำให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลอย่างรวดเร็วและแม่นยำ

1. ระยะอักเสบ หรือเหงือกอักเสบ
ระยะเริ่มแรกของโรคปริทันต์คือระยะอักเสบ หรือเหงือกอักเสบ (Gingivitis) โดยอาการเหงือกอักเสบนี้จะเป็นอาการแรกเริ่ม ก่อนพัฒนาไปเป็นโรคปริทันต์ หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่มีอาการเหงือกอักเสบจะมีเลือดไหลขณะแปรงฟันหรือขณะใช้ไหมขัดฟัน นอกจากนี้ สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างหนึ่งก็คือคราบพลัค (Plaque) ซึ่งมีลักษณะเป็นคราบจุลินทรีย์สีเหลืองเกาะอยู่ที่ฟัน สาเหตุอันเนื่องมาจากน้ำตาลในอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไป เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้คราบพลัคก่อตัวจนทำลายเหงือกและฟัน ก็ต้องลดอาหารที่มีน้ำตาล หมั่นแปรงฟัน และพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

2. ระยะก่อนปริทันต์
ระยะก่อนปริทันต์หรือระยะเริ่มแรกของโรคปริทันต์เป็นช่วงที่เริ่มมีอาการเหงือกร่นจากฟัน ทำให้เกิดช่องว่าง (Pockets) ระหว่างฟันและเหงือก ส่งผลให้กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายก็จะพยายามต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่นตามมา พร้อมกับอาการเลือดออกขณะแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน และกระดูกรองรับรากฟันอาจเริ่มถูกทำลาย

3. ระยะกลางของโรคปริทันต์
หากไม่ได้รับการรักษาในระยะแรกเริ่มของโรคปริทันต์ อาการของโรคก็จะพัฒนาเข้าสู่ระยะกลางของโรคปริทันต์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีความรู้สึกเจ็บบริเวณที่มีเหงือกร่น อาการเหงือกร่นก็จะมากขึ้น อาการอักเสบจะขยายวงกว้างออกไป มีเลือดออก เชื้อแบคทีเรียจะทำลายกระดูกรองรับรากฟันมากขึ้น ทำให้เกิดอาการฟันโยก อาการของโรคก็จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

4. ระยะสุดท้ายของปริทันต์
ระยะสุดท้ายของโรคปริทันต์ เนื้อเยื่อที่ยึดฟันให้อยู่กับที่จะเริ่มเกิดการเสื่อมสภาพ เหงือกและกระดูกรองรับรากฟัน รวมถึงเนื้อเยื่อต่างๆ ที่รองรับฟันจะถูกทำลาย ฟันจะเริ่มหลุดไป ฟันหน้าจะห่างออก มีอาการเจ็บปวดขณะเคี้ยวอาหาร มีกลิ่นปากรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในระยะนี้จะต้องถอนฟันแท้ออกไปจนหมด และในระยะสุดท้ายของโรคปริทันต์นั้นถือว่ามีอาการที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะนอกจากจะสูญเสียฟันแล้ว ยังสามารถนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น เบาหวาน หรือโรคหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย

วิธีรักษาโรคปริทันต์ หรือโรครำมะนาด

โรคปริทันต์หรือโรครำมะนาดนั้นมีแนวทางการรักษาที่ขึ้นอยู่กับอาการและระยะของโรค โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจดูอาการ วินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของอาการ เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งวิธีการรักษามี ดังนี้

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
การรักษาโรคปริทันต์แบบไม่ผ่าตัดนั้นเหมาะกับผู้ที่มีอาการในระยะแรกเริ่ม หรือยังไม่รุนแรง การพิจารณาของทันตแพทย์ก็ขึ้นอยู่กับว่าการรักษาแบบไม่ผ่าตัดได้ผลที่ดีต่อการรักษาโรคปริทันต์ในผู้ป่วยเคสนั้นๆ หรือเปล่า ซึ่งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก็มีอยู่หลายวิธี เช่น

การขูดหินปูน (Dental Cleaning)
การขูดหินปูนเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเหงือกอักเสบ หรือเป็นโรคปริทันต์ในระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยควรเข้ารับการขูดหินปูนกับทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง รวมถึงการทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์ในการดูแลรักษาฟัน ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันให้ถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการขูดหินปูนมากกว่า 2 ครั้งต่อปี เพื่อควบคุมอาการของโรค

เกลารากฟัน (Root Planing)
การเกลารากฟันคือการใช้เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปทำความสะอาดฟันแบบล้ำลึก โดยจะทำความสะอาดด้านบนและใต้เหงือกประมาณ 3 มิลลิเมตรจากบริเวณขอบเหงือก เพื่อขจัดคราบพลัคและหินปูนออกไป รวมถึงมีการเกลาให้พื้นผิวใกล้รากฟันมีความเรียบ เมื่อเกลารากฟันเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะใส่เจลฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ยังหลงเหลืออยู่ หากมีอาการรุนแรงอาจจะต้องกลับมารักษาด้วยวิธีเกลาฟันอีกครั้งเพื่อให้อาการหายขาด หลังการเกลาฟันอาจมีอาการเจ็บและมีเลือดออกซึ่งสามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser Treatment)
การรักษาด้วยเลเซอร์เป็นการรักษาที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาแบบทั่วไป โดยทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์เพื่อนำเอาเนื้อเยื่อของเหงือกที่อักเสบรอบๆ รากฟันออกไป จากนั้นก็จะทำการกำจัดหินปูนและคราบพลัค และใช้เครื่องมือเกลาฟันทั้งด้านบนและใต้เหงือก ในช่วงระยะฟื้นตัว เหงือกจะต้องไม่อักเสบและจะกลับมาแนบชิดกับฟันได้ปกติ ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องมีประสบการณ์ และรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากคลื่นเลเซอร์มีความยาวคลื่นแตกต่างกันออกไปตามแต่จุดประสงค์ของการใช้งาน

การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยา คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) มาใช้รักษาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ หรือการทานยาปฏิชีวนะ 

การรักษาแบบผ่าตัด

การรักษาโรคปริทันต์นอกเหนือจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดแล้ว การักษาโดยการผ่าตัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งมีหลากหลายวิธี ได้แก่

Flap Surgery (Pocket Reduction Surgery)
ในกรณีที่ยังมีการอักเสบเกิดขึ้น หรืออักเสบในบริเวณที่แปรงฟันหรือไหมขัดฟันเข้าไปไม่ถึง ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดแบบ Flap Surgery ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้จะเป็นการผ่าเหงือกเพื่อจะสามารถยกเนื้อเยื่อของเหงือกขึ้นให้เห็นรากฟัน จากนั้นทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนและเกลาฟัน และปรับแต่งฟัน เพื่อให้เหงือกกลับมาแนบชิดกับฟันได้เป็นปกติ เมื่อหายดีแล้ว ผู้ป่วยสามรถทำความสะอาดและคงสภาพเหงือกและฟันที่ดีได้ง่ายขึ้น

Bone Grafting
การผ่าตัดในรูปแบบ Bone Grafting จะทำเมื่อโรคปริทันต์ได้ทำลายกระดูกรองรับรากฟันไปแล้ว วิธีนี้ใช้การปลูกถ่ายกระดูกของผู้ป่วยเอง จากกระดูกสังเคราะห์ หรือของผู้บริจาค เมื่อรักษาแล้วจะช่วยรองรับไม่ให้ฟันเคลื่อนหรือโยก เป็นการป้องกันการสูญเสียฟันในอนาคต

Soft Tissues Grafts
Soft Tissues Grafts คือการผ่าตัดในกรณีที่มีอาการเหงือกร่น วิธีการรักษาก็คือการนำเอาเนื้อเยื่อบริเวณเพดานปากของผู้ป่วย หรือเนื้อเยื่อจากผู้บริจาคท่านอื่นๆ มาติดกับบริเวณที่มีปัญหา โดยวิธีนี้ช่วยให้อาการเหงือกร่นลดลง หลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องปฏิบัติตัวดังนี้
1. ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. ไม่รับประทานอาหารรสจัด
3. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ทำการผ่าตัด
4. ไม่สัมผัสโดย การแคะ หรือเขี่ย บริเวณที่ทำการผ่าตัด
5. หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณที่ทำการผ่าตัด

วิธีป้องกันโรคปริทันต์ทำได้ง่ายๆ ป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้

การป้องกันโรคปริทันต์นั้นไม่ยาก ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่มีวินัย และรู้จักวิธีการรักษาสุขภาพช่องปาก ไม่ให้มีแบคทีเรียเข้าไปทำลายเหงือกและฟัน หากต้องการที่จะมีฟันสวยสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคปริทันต์สามารถปฏิบัติตัวง่ายๆ ดังนี้
1. แปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
2. ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อขจัดแบคทีเรีย คราบพลัค และเศษอาหาร
3. ไม่สูบบุหรี่
4. พบทันตแพทย์เพื่อทำการขูดหินปูนเป็นประจำทุกปี
5. รับประทานอาหารที่มีวิตามินซี

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคปริทันต์

พอจะเข้าใจภาพรวมของโรคปริทันต์แล้ว ทีนี้มาดูคำถามยอดฮิตที่มักจะได้ยินบ่อยๆ กันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น

เราสามารถรักษาโรคปริทันต์ด้วยตัวเองได้ไหม

การรักษาโรคปริทันต์ด้วยตัวเองไม่สามารถทำได้ เนื่องจากในการรักษานั้นต้องมีการขูดหินปูนตามร่องฟันและใต้เหงือก ซึ่งต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้คือการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ และนัดติดตามอาการหลังการรักษาโรคปริทันต์

การรักษาโรคปริทันต์ใช้เวลานานเท่าไร

โรคปริทันต์ใช้เวลาการรักษาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความรุนแรงของโรคปริทันต์ การดูแลรักษาความสะอาดของเหงือกและฟัน รวมถึงการรักษาติดตามอาการของทันตแพทย์ โดยผู้ป่วยจะต้องพบทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

โรคปริทันต์สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้หรือไม่

โรครำมะนาด หรือโรคปริทันต์ คือ โรคที่แบคทีเรียเข้าทำลายอวัยวะรอบๆ ตัวฟัน จนอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียฟันได้ ในกรณีที่อาการหนักมากๆ อาจจะต้องถอนฟันออก แล้วใส่ฟันปลอมเข้าไปแทน ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคปริทันต์มักจะมีอาการเหงือกบวมแดง เหงือกย่น ฟันโยก บางครั้งอาจมีกลิ่นปากร่วมด้วย สำหรับการรักษาสามารถทำได้ 2 วิธีคือ รักษาด้วยการผ่าตัด และรักษาด้วยกันไม่ผ่าตัด โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ทำการประเมินอาการ และเลือกการรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย หากใครที่ไม่อยากสูญเสียฟันการป้องกันโรคปริทันต์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแปรงฟันให้ถูกวิธี ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอ และตรวจเช็กสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำ

ด้วยความห่วงใยจาก

วันเวลาทำการ
เปิดให้บริการ ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 08:00 – 20:00 น.

หากท่านมีข้อสงสัยในอาการเจ็บป่วย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ทางช่องทางดังต่อไปนี้

Share: